top of page

6 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “เพทาย” กลับมาเป็นพลอยที่นิยมสะสม จนเริ่มหายากขึ้นอีกครั้ง


“เพทาย” หรือที่เรารู้จักในภาษาอังกฤษว่า “Zircon” นั้น เป็นพลอยธรรมชาติที่มีโอกาสขุดพบเจอได้ทุกสี

โดยสีที่หายาก และเป็นที่นิยมสำหรับใครหลายคนที่ตามสะสม มักจะเป็น “สีน้ำเงินเข้ม” ออกโทน "สีกำมะหยี่" หรือที่บางคนเรียกกันว่า “โทนสีพิเศษ”

.

แต่โทนสีที่ว่านี้ ก็ไม่ได้มีให้พบให้เห็นกันบ่อย เพราะโอกาสเจอมีน้อยมาก

.

ส่วนโทนสีทั่วๆไปที่เราพบเห็นกันบ่อยๆมักจะเห็นโทนสีขาว สีเหลืองทอง สีแดงกะปิ สีแดงเลือดหมู และสีฟ้าอ่อนๆ เป็นต้น

.

นอกจากความหลากหลายของสีสันพลอยเพทายแล้ว


📍เรายังพบอีก 6 ลักษณะเด่นที่เสมือนเป็นมนต์เสน่ห์เฉพาะตัวของพลอย “เพทาย” ที่ทำให้ผู้คนหลงใหลจนต้องหันมานิยมสะสม และทำให้พลอยเพทายสวยๆเริ่มหายากขึ้นอีกครั้ง

1. เพทายเป็นพลอยเก่าแก่ จัดอยู่ในกลุ่มพลอยมงคล และเป็นหนึ่งในตำนาน “พลอยนพเกล้า” ที่นิยมเสริมราศี เสริมดวง รวมถึงเก็บสะสมเพื่อความเป็นสิริมงคลมาแต่โบราณ


2. พลอยเพทายแทบจะทุกเม็ดล้วนมีประกาย (Brilliance) และความวาว (Luster) สูงมาก

.

ทั้งนี้เนื่องจากผลทดสอบที่พบว่าพลอยเพทายมีค่าดัชนีหักเหทางแสงที่สูง (Reflection Index 1.95) เมื่อเทียบกับพลอยชนิดอื่นๆ

.

ค่าทดสอบที่ว่ามานี้เป็นตัวบ่งชี้ว่า

"เนื้อพลอยเพทายมีระดับความวาว (Luster) ที่สามารถสะท้อนแสงได้ไวกว่า และดีกว่าพลอยชนิดอื่นๆ" และยังบอกได้ถึง "ระดับประกายที่ระยิบระยับ (Brilliance) จนเป็นที่สะดุดตาต่อผู้พบเห็น" เมื่อได้รับการเจียระไน และการชักเงาพลอยที่ดีเพิ่มเติม

.

ในสมัยก่อนจึงมักแยกกันไม่ค่อยออกระหว่าง “เพชร” กับ “เพทายสีขาว” จนในเวลาต่อมาจึงได้มีการหลอกใช้ “เพทายสีขาว” แทน “เพชร” ไปเลยก็มี


3. เพทายมีความแข็งระดับ 7-7.5 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มพลอยเนื้ออ่อนก็จริง (ความแข็งต่ำกว่า9)

.

แต่ด้วยค่าความแข็งที่ว่า ก็เทียบเท่าความแข็งของมรกต (7-7.5) ที่ถูกนำมาใช้งานตามนิยม และใช้ประจำเช่นกัน

.

แต่ความแตกต่างอยู่ที่

“เพทายเป็นพลอยเนื้อสะอาด” ไม่ได้มีตำหนิภายในที่มากอย่างชัดเจนเช่นมรกต

ดังนั้นเพทายจึงเป็นพลอยที่มีความคงทน และไม่ค่อยแตกง่ายขณะเมื่อเรากำลังใช้งาน จึงสามารถนำมาทำเครื่องประดับได้ดี


4. เพทายเป็นพลอยที่มีความเป็นธรรมชาติในตัวสูง ส่วนใหญ่มักใช้การเผาอบด้วยความร้อนที่อุณหภูมิต่ำ และใช้การอบเพียงช่วงเวลาสั้นๆ (Warm Heated -Low Temperature Heated)

.

และการเผาอบที่ว่านี้ เป็นการอบความร้อนแบบปกติที่ไม่จำเป็นต้องใส่สารเคมีใดๆเพิ่มเติม อีกทั้งยังพบว่ามี “เพทายบางสี” ที่ไม่จำเป็นต้องผ่านการเผาอบเลยก็มี


วิธีการปรับปรุงคุณภาพพลอยดังที่กล่าวมาจึงเป็นที่นิยม และเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ

ไม่ว่าจะเป็นโซนทางอเมริกา รัสเซีย ตะวันออกกลาง เอเซียตะวันออก

(*อ้างอิงจากประสบการณ์จากการร่วมงานต่างประเทศ) .

นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้พลอยเพทายได้รับความนิยมจากนักสะสมพลอยทั่วโลก

ดังนั้น “ราคาพลอยเพทาย” จึงมีเสถียรภาพตามกลไกตลาดโลก และเริ่มปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง

5. เพทายเป็นพลอยที่สามารถนำมาเจียระไนจนเกิด “เหลี่ยมประกาย” ที่มีความระยิบระยับ*แบบซ้อนเหลี่ยม ได้หลายชั้นกว่าพลอยชนิดอื่นๆ (Mixed Cut)

.

ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างผลึกพลอยในธรรมชาติที่เป็นแบบ Tetragonal System ซึ่งช่วยเอื้อต่อนักเจียระไนพลอยที่มีฝีมือ สามารถวางเหลี่ยมชั้นให้ถี่ได้มากยิ่งขึ้น

.

และการตีเหลี่ยมชั้นสำหรับการเจียระไนที่ว่านี้ก็ช่วยส่งผลต่อการสะท้อน “เหลี่ยมประกาย” ที่ระยิบระยับได้มากกว่าพลอยชนิดอื่นๆ และสะดุดตาต่อผู้พบเห็นอย่างชัดเจน


6. แม้ว่าเพทายจะเป็นพลอยที่ได้รับความนิยมสะสมกันมาสักพักแล้ว และยังมีราคาพลอยที่ปรับตัวสูงขึ้นไปบ้างก็ตาม


แต่ระดับราคาพลอยที่ว่านี้ ก็ยังมีราคา (ราคาต่อกะรัต) ที่ต่ำกว่าพลอยเนื้อแข็งอยู่มาก

ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้

นักสะสมผู้ชื่นชอบพลอยไซร้ใหญ่ เปลี่ยนใจหันมาสะสม "เพทายไซร้ใหญ่ๆ" ภายใต้งบที่มีอย่างจำกัดได้

📍6 เหตุผลดังที่กล่าวมา จึงทำให้เพทายกลับมาเป็นที่นิยมสำหรับนักสะสมอีกครั้ง

และนักสะสมผู้ที่กำลังคิดจะสะสมพลอยเพทายทุกวันนี้มักจะ

🔹 เลือกสะสมแต่เพทายไซร้ใหญ่ 
🔹 เลือกสะสมเพทายสีเข้ม จนถึงระดับสีพิเศษ และ
🔹 เลือกสะสมแต่เพทายเนื้อใส สะอาด และเน้นเลือกพลอยที่มีเหลี่ยมประกายระยิบระยับกัน

.

หวังว่าประสบการณ์ของผมในครั้งนี้จะช่วยคุณลดความผิดพลาด และลดเวลาการลองผิดลองถูก การจากการซื้อพลอย รวมจนถึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังคิดว่าจะสะสมพลอยอะไรกันดี


🔹ลงทุนกับความสุขที่เก็บได้นาน

📌 อย่าลืมกรอกอีเมล์ในช่อง "Subscribe Form" (ด้านล่างสุดของหน้า) ฟรี! เพื่อคุณจะไม่พลาดบทความดีๆจากเรา

💢Copyright ©2021 “น้ำหนึ่งเจมส์”



น้ำหนึ่งเจมส์

สมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ จันทบุรี

สมาชิกกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์


"ความสุขของคุณ คือความภูมิใจของเรา"


Comments


bottom of page