top of page
รูปภาพนักเขียนGems Story น้ำหนึ่งเจมส์

4 เหตุผลที่ควรรู้ว่า “ทำไมต้องเผาพลอย?” ก่อนจะเริ่มต้นสะสม "พลอยเผา"


🔴 4 เหตุผลที่คุณควรรู้ว่า “ทำไมถึงต้องเผาพลอย?” ก่อนจะเริ่มต้นสะสม “พลอยเผา”


ผมเชื่อว่าทุกวันนี้ คนสะสมพลอย (แซฟไฟร์) ส่วนใหญ่มักเจอแต่ “พลอยเผา” ที่นำมาขายกัน

.

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ…

ปริมาณพลอยเผา (แซฟไฟร์) ที่พบในตลาดมีมากถึง 90%โดยปริมาณนั่นเอง

.

ผมยังเคยแอบสงสัยในสมัยเด็กๆว่า…
📍ขุดพลอยมาแล้วก็เป็น “พลอยดิบ” ทำไมถึงต้องนำพลอยนั้นมาเผาอีก? แล้วมูลค่าพลอยจะไม่ลดลงเลยหรือ?

จนถึงตอนที่คลุกคลีวงการพลอยอย่างจริงจัง จึงทราบว่า

.

‼️จริงๆแล้ว พลอยที่ขุดขึ้นมาจากธรรมชาติที่เราเรียกกันว่า “พลอยดิบ” หรือ “พลอยสด”นั้น ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้เจอ “พลอยดิบที่สวย” กันสักเท่าไร

บางเม็ดมีสีอ่อนเกิน หรือไม่ก็สีเข้มมืดจนเกือบดำไปก็มี 
บ้างก็มีตำหนิภายในที่มากจนไม่อยากนำมาทำเครื่องประดับ 
บ้างก็มีสีพลอยที่วิ่งผิดโทนสีสวนทางกับความนิยมของตลาดก็เจอเยอะ

.

แต่ก็ใช่ว่า…

เราจะไม่เจอ “พลอยดิบที่สวยๆ” กัน

.

เพียงแต่พลอยดิบที่สวย และมีคุณภาพดีนั้น ในธรรมชาติก็ยังพบในปริมาณที่น้อยอยู่

.

.

เมื่อเป็นเช่นนี้…

‼️ธรรมชาติของ “พลอยดิบ” ที่ไม่ค่อยสวย แล้วยังมีปริมาณมากมายเหล่านี้ จึงถูกคัดออก เพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพโดยผ่านกระบวนการการเผาพลอยด้วยความร้อน (*เผาเก่า) เพื่อให้พลอยสวยงามขึ้น

.

📍เป็นที่ทราบกันดีว่า…

เมื่อครั้งแรกๆของการคิดค้นการเผาพลอยโดยคนไทย และตลาดโลกให้การยอมรับในกรรมวิธีการเผาพลอยแบบเก่า (*เผาเก่า)

.

ด้วยเหตุผลที่ว่า…

“สีของพลอย (หลังการเผา)” มีความคงทน ไม่เปลี่ยนแปลงแม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน

ซึ่งการยอมรับที่ว่า ก็ยิ่งทำให้คนเผาพลอย และคนซื้อพลอยต่างมั่นใจที่จะซื้อ “พลอยเผา” เพื่อสะสมกันมากขึ้น

.

เพราะรู้ดีว่า…

เมื่อตลาดโลกยอมรับ ก็ย่อมหมายถึง “ราคาพลอยเผา(*เผาเก่า)” ที่จะไม่ได้ร่วงหล่นไปตามกาลเวลา

.

.

และนี่คือที่มาของ

🔴 4 เหตุผลสำคัญ‼️ ว่าทำไมจึงต้องเผาพลอยกัน (*เผาเก่า)

.

1. เผาพลอย เพื่อปรับปรุงคุณภาพสีพลอย จากเดิมสีอ่อนให้สีพลอยเข้มขึ้นได้ เช่นไพลินสีฟ้าอ่อน

.

2. เผาพลอย เพื่อถอยโทนสีที่เข้มหรือมืดเกินให้อ่อนลง เช่นพลอยเขียวส่องที่ติดโทนเข้มมืดจนออกดำให้โทนสีอ่อนลงมา

.

3. เผาพลอย เพื่อปรับโทนสีที่วิ่งผิดโทนสีที่นิยมของตลาด เช่นการเผาไล่โทนสีม่วง ให้เหลือแต่ “สีแดงสด” ในพลอยทับทิมสยาม จนกลายเป็นที่มาของโทน “สีเลือดนก (Pigeon Blood)” นั่นเอง

.

4. เผาพลอยเพื่อลดตำหนิธรรมชาติที่เดิมมีมากอยู่แล้วให้น้อยลง

ตัวอย่างเช่น 
ตำหนิประเภทเส้นเข็ม(Needle Inclusion) ซึ่งเราสามารถเผาให้กลายเป็นเส้นประ หรือ การเผาจากตำหนิประเภท “เส้นประ” ให้เป็นตำหนิประเภทฝุ่น (Minute Inclustion) ได้เช่นกัน

.

📍แน่นอนที่ว่า…

การเผาพลอย ย่อมช่วยให้พลอยดูสวยงามขึ้นก็จริง แต่ก็ใช่ว่าจะทำให้ “พลอยเผา” สวยขึ้นได้ทุกเม็ด

.

ไม่เช่นนั้นเราคงได้เห็นพลอยเผาทุกๆเม็ดมีสีสันสวยงามเหมือนๆกัน จนกลายเป็น “พลอยหาง่าย” ไปทันที

.

📍เพราะความจริงแล้ว…

ในขณะที่กำลังเผาพลอยอยู่ ย่อมมีความเสี่ยงที่เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

.

🔹สูตรการเผาพลอยที่แตกต่าง และถือเป็นความลับทางการค้าของแต่ละคน

(ซึ่งก็ล้วนมาจากประสบการณ์จากการลองผิดลองถูก และมีค่าใช้จ่ายที่เดิมพันด้วยกันทั้งสิ้น)

.

🔹ยังมีเรื่องของ “เชื้อสีของพลอยก้อน” ที่มาจากต่างเหมือง ต่างแหล่งกำเนิด ซึ่งก็ย่อมใช้สูตรการเผาพลอยที่แตกต่างกันไปเป็นต้น

.

📍ปัจจัยเหล่านี้ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการเผาพลอย และเสี่ยงต่อการเผาพลอยจนเสียหาย ซึ่งถ้าเกิดขึ้นมากเท่าไหร่ หรือภายหลังการเผาพลอยไม่ได้ดังที่ใจคิดไว้

.

นั่นย่อมสะท้อนตัวเลข “ต้นทุนการทำพลอย และราคาพลอย” ที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

.

ที่กล่าวมาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะเผาพลอยออกมาให้ได้สวยๆซักเม็ด

.

ดังนั้นเราจึงมักได้เห็นพ่อค้าพลอยหลายๆคนที่ขาดทุนจากการเผาพลอยไปเลยก็มี…

.

📍โดยสรุปของการสะสมพลอยเผาแล้ว

ควร “เน้นสะสม *พลอยเผาเก่า ที่เป็น *พลอยสวย เพื่อเก็บสะสม หรือส่งต่อลูกหลานเพื่อหวังเพิ่มมูลค่าพลอยมากขึ้นตามกาลเวลา”

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนนะครับ


น้ำหนึ่งเจมส์

สมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ จันทบุรี

สมาชิกกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์


 

#น้ำหนึ่งเจมส์ #nngjewelry #p240864


Comentários


bottom of page