ย้อนนึกถึงเรื่องราวความทรงจำสมัยวัยเด็ก ที่นักสะสมพลอยรุ่นคุณพ่อ คุณลุง รวมถึงผู้ใหญ่ในวงการพลอย ที่เคยเล่าให้ฟังถึงการสะสมพลอยเมื่อกว่า 50 ปีก่อน ซึ่งพอจะจับความได้ว่า
ในยุคนั้นสมัยนั้น พลอยที่เขาสะสมกัน ส่วนใหญ่ล้วนเป็นพลอยดิบ หรือพลอยสดกันทั้งนั้น เพราะพลอยเผาในสมัยก่อน ยังไม่มีใครได้ทำได้กัน
พอตอนซื้อก็แค่ตรวจเช็คพลอยว่า พลอยแท้ พลอยเก๊ เป็นเนื้อแข็ง เนื้ออ่อน แล้วก็ให้ราคากัน
แต่ละคนดูพลอยด้วยความชำนาญ ซื้อขายด้วยความไว้วางใจทั้งสิ้น เรียกว่าแทบไม่ต้องส่งพลอยเข้าตรวจในห้องแลปเหมือนอย่างปัจจุบัน (ห้องแลปในสมัยนั้นต่างก็ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก)
ส่วนราคาพลอย ก็เป็นไปตามความพอใจ และล้วนยอมรับกัน สมัยนั้นพลอยยังมีเยอะ บางคนพูดคุยถูกคอก็มีแถม มีให้กันไปเลยก็มี
"ยิ่งหน้าฝน เมื่อฝนเทลงมาเมื่อไหร่ พอน้ำชะหน้าดินออกไป ยามแดดออก ก็ส่องเห็นเม็ดพลอยระยิบระยับอยู่เกลื่อนกลาดเต็มถนนไปหมด"
📌ในช่วงเวลาไล่เลี่ยนี้นี่เอง ก็เป็นช่วงที่ “การเผาพลอย”(เผาแบบเก่า) เริ่มถูกค้นพบด้วยความบังเอิญ และโดยภูมิปัญญาชาวบ้านที่คลุกคลีอยู่กับพลอยในท้องถิ่น
ในช่วงนั้นต่างคนต่างหยิบจับเม็ดพลอยมาทดสอบ มาทดลองเผา จนเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาสูตรการเผาพลอยให้เผาออกมาได้สวยงาม และต่างก็พยายามพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
ครั้นพลอยเผา(แบบเก่า) เริ่มออกสู่ตลาดใหม่ๆ พลอยหลายๆรายการก็ถูกนำส่งตรวจยังสถาบันแลปที่อยู่ในต่างประเทศ
ทั้งนักอัญมณีศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันแลปในต่างประเทศเอง ต่างก็เดินทางเข้ามาตรวจสอบถึงกรรมวิธี “การเผาพลอย” ที่ว่านี้ เพราะถือเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญ และเกิดขึ้นใหม่ของโลก
จนที่สุดแล้วจึงได้ข้อพิสูจน์ และให้การรับรองว่า “สีของพลอย” ที่มาจากการเผา (เผาแบบเก่า) แบบนี้ มีความคงทน และสีพลอยไม่เปลี่ยนแปลง
จากวันนั้นเป็นต้นมา...
“พลอยเผาเก่า” จึงได้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก และ “ความสวยงาม” ภายหลังการเผาก็ได้กลายเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาผู้พบเห็นอยู่เสมอๆ
ความนิยมของพลอยเผาในช่วงนั้นจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเชื่อว่า
📍กระบวนการเผาพลอย เป็นหนึ่งในกระบวนการที่สามารถดึงศักยภาพความสวยของพลอยเม็ดนั้น ออกมาให้ปรากฎได้อย่างเต็มที่
📍บางคนยังมีความเชื่อด้วยว่า
“เมื่อพลอยยังอยู่ใต้ดิน (ยังไม่ได้ถูกขุดพบ) เดิมทีก็ได้รับความร้อนที่อยู่ใต้โลก บ่มด้วยความร้อนธรรมชาติต่อเนื่องไปเรื่อยๆอยู่แล้ว”
การเผาพลอย ก็เป็นวิธีที่คล้ายๆกับการให้ความร้อนต่อเม็ดพลอยออกไปอีกเรื่อยๆเช่นกัน
จึงไม่น่าแปลกใจอะไรที่ขุดพลอยแล้วจะนำมาเผา เพราะนี่ก็เป็นวิธีแบบธรรมชาติเช่นเดียวกัน
📌 ช่วงเวลานั้นจึงเป็นช่วง
“ยุคทองของการสะสมพลอยเผากันทีเดียว”
‼️แต่กระนั้นก็ตาม…
ไม่ใช่พลอยเผาทุกเม็ดที่จะมีราคากัน บางครั้งเผาพลอยเสียก็มี เผาออกมาไม่สวยก็มี บ้างก็แตกระเบิดภายในเตาเผาก็มี
แต่หมู่คนที่สะสมพลอยในเวลานั้น ต่างก็เลือกคัดแต่เฉพาะพลอยสีที่สวย เนื้อพลอยที่ดีเก็บไว้
“พลอยที่เผาแล้วสวย คุณภาพดี จึงมีราคาซึ่งเทียบเท่ากับคุณค่าของพลอยเม็ดนั้นนั่นเอง”
นอกจากเรื่องความสวยพลอยตามที่เล่ามาแล้ว ยังพบอีกว่า
“ปริมาณพลอยที่เผาออกมาสู่ตลาด ยังมีแนวโน้มที่จะมีออกมาได้อีกมาก”
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ปริมาณวัตถุดิบพลอยที่ใช้ในการเผามีมาก
ทั้งนี้เพราะพลอยที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการเผา ส่วนใหญ่ล้วนเป็นพลอยที่มีคุณภาพระดับรองๆ ลงมา
และเดิมวัตถุดิบเหล่านี้ก็มีมากอยู่แล้วในตลาด รวมถึงยังมีราคาถูกกว่าด้วย
อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะ “มูลเหตุจูงใจ” ที่ทำให้คนอยากมาเผาพลอยกัน
เพราะเมื่อต้นทุน “พลอยก้อน” ที่มีคุณภาพรองนั้น มีราคาที่ถูกกว่า แต่พอเผาพลอยออกมาได้สวยก็ย่อมเรียกราคาขาย และมีกำไรงดงามทีเดียว
ดังนั้นต่างคนจึงต่างพัฒนาสูตรการเผาพลอยของแต่ละคน จนต่อมาเมื่อพัฒนาได้สูตรการเผาพลอยสำเร็จแล้ว ก็จะเก็บเป็นความลับ เป็นสูตรลับของตนไปเลย
จะถ่ายทอดอีกทีก็แต่เฉพาะคนในครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นเท่านั้น เพราะถือเป็นช่องทางทำมาหากินของแต่ละครอบครัวกัน
ผมยังเคยได้ฟังถึงเรื่องราวยุคเริ่มต้นของคนไทยที่เผาพลอยกันได้ใหม่ๆ จากเพื่อนชาวศรีลังกาที่ทำเหมืองพลอยอยู่ที่นั่นซึ่งเขาได้เล่าให้ฟังว่า
ในช่วงยุคสมัยนั้น คนไทยที่มาซื้อพลอยก้อนที่ศรีลังกา ส่วนใหญ่ก็มักมาซื้อแต่พลอยไพลิน ซีลอน สวยๆ และคัดเอาแต่พลอยคุณภาพดีๆ
แต่พอเป็นช่วงเวลานั้น สไตล์การซื้อของพ่อค้าพลอยคนไทยก็เปลี่ยนไป หันไปถามหาซื้อแต่พลอยสีอ่อนๆแทบขาวไปเลยก็มี
หรือไม่ก็ถามหาซื้อแต่พลอยกิวด้า (ซึ่งสมัยนั้นเป็นพลอยที่มีคุณภาพต่ำลงมา เพราะเป็นพวกพลอยที่มี “สีพลอยผสมเชื้อขุ่นขาว”)
และพลอยเหล่านี้ก็เป็นพลอยที่ทุกคนมักคัดออก และขายกันถูกๆในตลาด
"แรกๆพวกเขาเองก็ไม่เข้าใจว่าทำไมพ่อค้าพลอยคนไทยถึงหันไปซื้อพลอยเหล่านี้…
แต่พอมารู้ทีหลังว่า คนไทยสามารถนำพลอยไปเผา จนสำเร็จได้พลอยออกมาสีสันสวยงาม และขายได้ราคาดี
ครั้นอยากคิดจะทำบ้าง แต่ก็ไม่รู้ว่าต้องเผากันอย่างไร เพราะไม่เคยมีความรู้เรื่องราวแบบนี้มาก่อน"
และเมื่อความสำเร็จจากการเผาพลอยให้สวยได้ ก็เพิ่มจำนวนพลอยสวยๆออกมาให้เห็นในตลาดได้เพิ่มขึ้น
วัตถุดิบซึ่งเป็นพลอยก้อนเหล่านั้น ก็ค่อยๆเริ่มลดลง ราคาวัตถุดิบจากต้นทางจึงค่อยๆปรับสูงขึ้น แถมยังมีอัตราการเผาที่เสียหายอีกด้วย
ปัจจัยเหล่านี้ก็ยิ่งส่งผลให้ต้นทุนการทำพลอยเผา และราคาปลายทางได้ขยับราคาสูงขึ้นอีกครั้ง
คนที่เคยซื้อ เคยสะสมพลอยที่ต้นทุนเก่าๆก็ยิ่งภาคภูมิใจถึงมูลค่าพลอยที่ตนเองสะสมได้เพิ่มมูลค่าขึ้น
ส่วนคนที่คิดอยากจะสะสมพลอยเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งเพิ่มความมั่นใจเพราะเห็นราคาพลอยที่พุ่งพรวดขี้นมา และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขุดเจอที่ค่อยๆลดลง
และสุดท้ายในวันนี้ ราคาพลอยสวยๆก็ยังคงสูง และหายากมากขึ้นเหมือนเป็นเช่นวันนั้นอีกครั้ง
📍นี่จึงเป็นการย้อนรอยเรื่องราวการสะสมพลอยสวยที่มีมาแต่อดีต
และพอจะย่อสรุปจากประสบการณ์คนสะสมที่ใช้เวลาสะสมพลอยมายาวนานกว่าค่อนชีวิต ให้เหลือเพียงบทสรุปสั้นๆว่า
“สะสมพลอยเพื่อเพิ่มมูลค่าตามเวลา จำเป็นต้อง
🔹สะสมพลอยที่นิยม และเป็นที่ยอมรับในตลาด (เพราะทุกคนต้องการ)
🔹คัดเลือกสะสมแต่เฉพาะพลอยสวย คุณภาพดี (เพราะทุกคนยิ่งต้องการ)
เมื่อยังมีความต้องการ… พลอยเม็ดนั้นจึงยังมี “คุณค่า”
และเพียงคุณเฝ้ารอเวลาว่าเมื่อขุดพบเจอ หรือมีวัตถุดิบน้อยลง แน่นอนที่ว่า ราคาย่อมสูงขึ้น จนคุณรู้สึก “คุ้มค่าต่อการลงทุน”
#ลงทุนกับความสุขที่เก็บได้นาน
น้ำหนึ่งเจมส์
รับรองสมาชิกโดย
#สมาคมผู้ค้าอัญมณี และเครื่องประดับ จันทบุรี
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
#น้ำหนึ่งเจมส์ #nngjewelry #น้ำหนึ่งเจมส์เล่าประสบการณ์
Comments