top of page

🚫 ซื้อพลอยดิบ แต่อาจจะไม่ได้พลอยดิบกลับไป ถ้าคุณพลาดสิ่งนี้

อัปเดตเมื่อ 11 มิ.ย. 2565


คุณเคยรู้สึกไหม?

กว่าจะเจอพลอยดิบสวยๆสักเม็ด มันช่างแสนยาก

.

และกว่าจะตัดสินใจได้ ก็ยากยิ่งกว่าด้วยความกังวลใจต่างๆที่ซ่อนอยู่ ซึ่งก็คงไม่พ้น…

“ความไม่รู้ ดูพลอยไม่เป็น เพราะไม่ชำนาญพอที่จะดูรู้ว่าเป็นพลอยดิบ หรือพลอยเผา ก่อนจะตกลงซื้อขายกัน”

.

จึงไม่ใช่เรื่องแปลก…

เมื่อผู้ซื้อเริ่มถามหา และขอดูใบเซอร์พลอยว่ามีมาจากห้องแลปบ้างไหม?

.

ซึ่งถ้ามี…

ต่างก็ยิ่งมั่นใจ เพราะแม้ราคาพลอยจะสูง แต่ก็มีโอกาสตกลงซื้อขายกันได้โดยง่าย

.

.

📍ส่วนตัวผมเอง…

ผมเห็นด้วย และมองว่าสำคัญเป็นลำดับต้นๆ แม้ว่าผู้ซื้อนั้นจะเป็นผู้เชี่ยวชาญอยู่แล้วก็ตาม

นั่นเป็นเพราะ…

“ห้องแลปมีความเป็นกลาง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ซื้อ-ผู้ขาย และยังมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยตรวจสอบ โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัยแทนเรา
.
และใบเซอร์นี่เองที่จะบอกคุณค่าของพลอยเม็ดนั้นๆแทนเรา และบอกความจริงโดยที่เรามิได้ทึกทักกันเอาเองอีกด้วย”

.

‼️แต่ใครจะรู้ว่า…

“เพียงแค่การขอดูใบเซอร์แลปอย่างที่ทุกคนเข้าใจ ก็ใช่ว่าจะมั่นใจได้เสมอว่าพลอยนั้นจะเป็นพลอยดิบอย่างที่หลายๆคนเข้าใจ”

.

‼️ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

.

วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟัง และเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่เคยรู้เรื่องราวเหล่านี้

.

.

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงสิบกว่าปีก่อน สมัยที่พลอยกำลังเริ่มบูมอยู่ใหม่ๆ
.
สมัยนั้นยังเป็นยุคที่มีเหมืองพลอยเปิดใหม่เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะจากหลายโซนทางแอฟริกา
.
แต่ละเหมืองยังคงอุดมไปด้วยพลอยสวยๆที่มีมากมายหลากหลายชนิด และเริ่มค่อยๆทยอยผลิตออกมาสู่ตลาดโลกมากขึ้นเรื่อยๆ

.

ขณะนั้นเอง…

ก็เป็นช่วงเดียวกันกับที่ตลาดต่างประเทศเริ่มหันมานิยมสะสม “พลอยดิบ” กันมากขึ้นด้วยเช่นกัน

.

ด้วยความนิยมพลอยที่ได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วในเวลานั้น ซึ่งก็เริ่มทำให้…

.

“ใบเซอร์พลอยจากแลป” ถูกถามหากันมากขึ้น และห้องแลปน้อยใหญ่ในเวลานั้นต่างก็เติบโตขึ้นดั่งเงาตามตัว

.

ส่วน "ห้องแลปน้องใหม่" ต่างก็ผุดขึ้นมามากมายราวกับดอกเห็ด เพื่อให้บริการในตลาดที่กำลังเติบโตมากขึ้นด้วยเช่นกัน

.

และนั่นเองก็มีส่วนทำให้ “ราคาใบเซอร์” ถูกลงเพื่อดึงดูดใจพ่อค้าหน้าเก่า-ใหม่ ให้ได้เข้ามารู้จัก มาลองใช้บริการ

.

.

ผมเองก็เคยสุ่มตรวจยังสถาบันแลปใหม่ๆเหล่านั้นอยู่เรื่อยๆเช่นกัน

.

‼️และเริ่มเป็นที่แปลกใจเมื่อพบว่า…

“พลอยบางเม็ดที่ได้ผ่านขบวนการเผามา แต่กลับได้รับผลตรวจเป็นพลอยดิบก็มี”

.

📍และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ผมส่งพลอยเพื่อรีเช็คผลตรวจยังสถาบันแลปใหญ่ๆ ซึ่งเป็นที่รู้จัก และยอมรับ เพื่อคอนเฟิร์มผลการตรวจอีกครั้ง

.

📍สุดท้ายพบว่า ผลตรวจจากห้องแลปใหญ่ๆเหล่านั้น ต่างก็ฟันธงผลตรวจได้อย่างถูกต้อง แม่นยำตรงตามความจริง

.

.

📍มาถึงตรงนี้… หลายคนเริ่มสงสัยแล้วว่า…

‼️เหตุใดผลตรวจจากห้องแลปที่ว่า จึงมีความขัดแย้งกัน?
แล้วเราจะยังเชื่อถือได้หรือ?

ผมขอตอบในฐานะที่เป็นนักอัญมณีศาสตร์ และอยู่ต้นน้ำในวงการมานาน อยากจะสรุปให้คุณเห็นภาพก่อนว่า…

.

.

🔹การตรวจสอบพลอยดิบโดยส่วนใหญ่นั้น เขามักตรวจโดยดูจากลักษณะตำหนิธรรมชาติที่อยู่ในเนื้อพลอยว่า

.

มีความสมบูรณ์ของผลึกแร่มากน้อยแค่ไหน? ส่วนใหญ่ก็มักดูด้วยสายตา โดยส่องผ่านกล้องไมโครสโคปกันเป็นส่วนใหญ่

.

ซึ่งถ้าพลอยที่เคยผ่านขบวนการเผาด้วยความร้อนมา

“ความร้อนจะทำลายและเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของผลึกดิบเหล่านี้”

.

📍ซึ่งถ้าตรวจพบ ห้องแลปก็จะลงความเห็นว่าเป็น “พลอยเผา”


💥💥💥แต่สำหรับกลุ่มพลอยที่มีเนื้อพลอยใสสะอาด ตำหนิธรรมชาติคลุมเครือไม่ชัดเจน ก็มีโอกาสหลบเลี่ยงการตรวจเจอด้วยสายตาได้เช่นกัน

.

.

🔹ยังมีพลอยบางเม็ดซึ่งอยู่ในกลุ่มที่มี “ผลึกพลอยที่ค่อนข้างสมบูรณ์” อยู่แล้ว และบางทีก็มีสีพลอยที่พอใช้ได้อยู่

.

เจ้าของพลอยก็อาจจะนำพลอยไปเผาซ้ำเพื่อปรับปรุงเรื่องสีและความใสอีกเล็กน้อย ซึ่งก็มักเลือกใช้การ “เผาอบ” (Warm Heated) แทนก็มี

.

.

📍การเผาอบที่ว่า…

คือการเผาพลอยที่ใช้ความร้อนในอุณหภูมิต่ำๆ และใช้เวลาเผาในช่วงเวลาสั้นๆ

.

💥💥💥และการเผาอบ (Warm Heated) ดังที่ว่ามานี้ ก็มีโอกาสหลบเลี่ยงการตรวจเจอด้วยสายตาได้ด้วยเช่นกัน

.

และยิ่งถ้าเนื้อพลอยค่อนข้างสะอาดด้วยอีก นั่นก็จะยิ่งยากที่จะตรวจสอบเจอร่องรอยการเผาด้วยความร้อนผ่านสายตาได้ด้วยเช่นกัน

.

.

‼️แต่กระนั้นก็ตาม…

ก็ยังมีความโชคดีอยู่บ้างที่ ความคลาดเคลื่อนผิดพลาดที่ว่านี้ มิได้เกิดกับทุกสถาบันแลปโดยรวม

.

โดยเฉพาะผลตรวจจากสถาบันแลปใหญ่ๆซึ่งเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก (*ซึ่งได้ผ่านการสุ่มพิสูจน์มาแล้ว)

.

นั่นก็ยิ่งทำให้ตลาดยังคงมั่นใจ และไว้วางใจต่อการตรวจสอบพลอยจากแลปใหญ่ๆมาจนถึงทุกวันนี้

.

.

จากความย้อนแย้งของผลตรวจที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น...

ผมก็เฝ้าหาความจริงถึงที่มาที่ไปว่า มันเกิดขึ้นได้อย่างไร?

.

.

และเมื่อได้คลุกวงใน ถามจากผู้เชี่ยวชาญหลายๆท่านในเวลานั้น ผมก็พอจะสรุปความเห็นได้ว่า

.

🔹มาตราฐานการตรวจสอบพลอยของแต่ละแลปนั้นมีความแตกต่างกัน

บางแห่งมีผู้ตรวจสอบเพียงท่านเดียว บางแห่งมีผู้ตรวจหลายท่าน หรือมีเป็นทีมเลยก็มี และบางแห่งก็ยังต้องได้รับความเห็นถึงสองในสามท่านถึงจะสรุปผลตรวจเลยก็มี

และนี่คือความเข้มงวดที่เป็นมาตราฐานที่แตกต่างกัน และห้องแลปใหญ่ๆที่ว่าเหล่านั้นต่างก็วางกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด(ซึ่งผมไม่ขอลงรายละเอียด) เพื่อสร้างความมั่นใจให้ตลาดมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

.

🔹เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบของแต่ละแลปก็มีความแตกต่างกัน

บางแห่งยืนยันผลตรวจสอบเพียงแค่ใช้กล้องไมโครฯส่องผ่าน และใช้เป็นเครื่องมือหลักเพียงเท่านั้น

.

ในขณะที่บางแห่งนำเครื่องมือทดสอบระดับสูงเข้ามาร่วมตรวจสอบด้วย และเครื่องมือทดสอบระดับสูงที่ว่านี้ ต่างก็มีความแม่นยำสูง และแต่ละเครื่องต่างก็มีราคาแพง

นั่นจึงเป็นอีกข้อจำกัดสำหรับห้องแลปขนาดเล็กในแง่การลงทุน

เพราะเป็นสิ่งที่ยากและยาวนานเกินกว่าที่จะเก็บค่าบริการตรวจสอบให้คุ้มค่า และคืนทุนได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน

.

.

เมื่อเหตุการณ์เป็นไปดังที่ผมเล่ามานี้…

(ลองค่อยๆคิดตามดูนะครับ)

.

.

มันเลยเกิดช่องว่างเมื่อ…

‼️”พลอยเผา” ก็มีโอกาสเล็ดลอดได้ผลใบเซอร์เป็น “พลอยดิบ” จากสถาบันแลปเล็กๆด้วย คุณว่าจริงไหม? 

.

‼️และถ้าคุณว่าจริง…
ต้นทุนจริงๆที่เป็นพลอยเผา ก็ย่อมถูกกว่า และสามารถขายให้คุณได้ถูกกว่าร้านค้าที่ขายพลอยดิบพร้อมใบเซอร์จากแลปใหญ่ คุณว่าจริงไหม?

.

‼️แล้วถ้าคุณซื้อไป…
วันหนึ่งที่คุณคิดจะขายต่อ ผู้ซื้อรายใหม่(ที่มีความรู้) ก็คงขอทำใบเซอร์รับรองจากสถาบันแลปซึ่งเป็นที่ยอมรับในตลาดเพิ่มเติม คุณว่าเป็นไปได้ไหม?

‼️แล้วถ้าผลตรวจใหม่ในวันนั้น ยืนยันออกมาว่าเป็น “พลอยเผา” แล้วละก้อ…

วันนั้นคง…

🔹แอบเซ็ง! เพราะไม่รู้ว่าเคยซื้อพลอยมาผิด และซื้อผิดมานาน และยิ่งถ้าเป็นพลอยหายากเม็ดสำคัญๆ ที่ซื้อมาราคาสูงด้วย ก็ยิ่งทำใจไม่ลง

🔹เจ็บใจ! ที่เก็บพลอยมานาน ราคาพลอยในตลาดก็ขึ้นเอาเรื่อยๆ แต่ราคาพลอยเรากลับไม่ขึ้นสักที

🔹เสียเงินซ้ำซ้อน! จากค่าทำใบเซอร์ใหม่อีกครั้ง อีกสองครั้ง อีกสามครั้ง จากสถาบันแลปต่างๆเพิ่มเติมตามความไม่มั่นใจจนสุดท้ายหนีไม่พ้นที่จะยอมรับความเป็นจริง

และนี่ก็เป็นประสบการณ์ที่ทำให้วันนั้น…

ผมตัดสินใจเลือกลงทุนกับ “ใบเซอร์แบรนด์” เพียงไม่กี่สถาบันเท่านั้น

.

ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นสถาบันที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ เพราะผมเองก็ต้องใช้เพื่อเพิ่มความมั่นใจต่อคู่ค้าในตลาดต่างประเทศด้วยเช่นกัน

.

มาถึงตรงนี้…

หลายคนคงอยากถามถึงสถาบันหลักๆที่ผมเลือกใช้ ซึ่งทีแรกก็ไม่ได้คิดจะเปิดเผย เพราะโพสต์นี้ไม่ได้ตั้งใจจะเชียร์อัพฝ่ายใด แต่เขียนเรื่องราวตามความจริงที่อยากมาร่วมแบ่งปันกัน...

.

แต่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้คิดจะสะสมพลอยมือใหม่ ในแง่ความมั่นใจ ซึ่งผมเองก็ไม่ได้รับประโยชน์ หรือค่างวดโฆษณา ค่ารีวิวแต่อย่างใด

.

(ส่วนถ้าคนสะสมมือเก๋าที่พอทราบ และมีสถาบันแลปที่มั่นใจอยู่แล้ว จะปัดข้ามฟีดนี้ไปเลยก็ได้ ไม่ว่ากันครับ)

.

"ถ้าใครได้เคยเป็นลูกค้าเก่าผม ไม่ว่าจะ 5ปี 10ปี หรือ 20ปีที่แล้วก็ตาม ย่อมทราบดีว่า ถ้าเป็นพลอยทั่วไปที่ตรวจสอบแค่เพียงพลอยแท้-เก๊ ผมเลือกใช้หลากหลายสถาบันซึ่งก็มักไม่ได้ผิดพลาดกัน

แต่ถ้าต้องการตรวจสอบความเป็น “พลอยดิบ” ผมจะเลือกใช้บริการตรวจสอบจากสถาบัน AIGS, GIT, และ GRS เพียงเท่านั้น"

.

และเมื่อกล่าวถึงชื่อสถาบันแลปเหล่านี้...

ก็ไม่เป็นที่แปลกใจครับ เมื่อบริษัทเพชรพลอยใหญ่ๆ รวมถึงผู้คร่ำหวอดในวงการส่งออกพลอยไปยังต่างประเทศ ต่างก็เลือกใช้ และไว้วางใจสถาบันแลปเหล่านี้ให้ช่วยตรวจสอบ “พลอยดิบ” ด้วยเช่นกัน

.

.

และนี่คือเรื่องราวที่ทำให้วันนี้ ผมอยากมาเตือนต่อผู้ที่คิดจะสะสมพลอยดิบในมุมที่ว่า

“ซื้อพลอยดิบ แต่คุณอาจจะไม่ได้พลอยดิบกลับไป ถ้าคุณพลาดที่จะถามผู้ขายว่า…
🔥มีใบเซอร์พลอยจากที่ใด?

💥💥💥อย่าได้ลดหย่อนความเข้มงวดต่อคำถามนี้ เพราะความสูญเสียที่จะตามมามันมีมากกว่าที่คุณคิด

.

.

ผมหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อการจัดซื้อพลอยเพื่อสะสมของคุณ และขอให้มีความสุขต่อการสะสมด้วยนะครับ

.

.

❤️ ถ้าคุณอ่านแล้วรู้สึกชื่นชอบกับการแบ่งปันประสบการณ์ในวงการพลอยของผม

💥อย่าลืม กดติดตามเพจ (ที่ปุ่ม👇 )


💥และกดเห็นก่อน (See First / Favorite) ที่หน้าเพจ เพื่อไม่ให้ถูกปิดกั้นการมองเห็นจากเฟสบุ๊ค แล้วคุณจะไม่พลาดบทความจากผมครับ


น้ำหนึ่งเจมส์


สมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ จันทบุรี


สมาชิกกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

bottom of page