top of page

🟢 สุดยอดพลอยหายาก "ซาโวไรท์ (Tsavorite)" ที่ทำไมถึงมีราคาสูงขึ้นทุกปี

อัปเดตเมื่อ 28 เม.ย. 2565


Tsavorite (ซาโวไรท์) คือพลอยเนื้ออ่อนธรรมชาติที่มีความแข็งระดับ 7-7.5 เทียบเท่าพลอยมรกต หรือจะมากกว่าความแข็งของหยกเจไดต์(6.5) จากพม่าด้วยซ้ำ

ถ้าได้พูดถึงพลอยซาโวไรท์ (Tsavorite) หลายคนที่สะสมพลอยมือใหม่ๆ อาจจะยังไม่เคยรู้จัก

.

แต่ถ้าบอกว่าพลอยซาโวไรท์ (Tsavorite) เป็นหนึ่งในพลอยตระกูลโกเมน หลายคนคงร้องอ๋อ… ทันที

.

📍แต่ก็คงแอบสงสัยว่า… 
“มันไม่น่าจะหายาก และคงไม่น่าจะมีราคาแพง”

.

จริงอยู่ที่…

“พลอยตระกูลโกเมน (Garnet)นั้น เราสามารถพบได้ในทุกสี

.

แต่สีพลอยที่ทุกคนคุ้นตา และพูดถึงกันมากสุดคือ “สีแดงแกมม่วง หรือที่เราเรียกมักคุ้นในชื่อ โรโดไลท์ การ์เนต(Rhodolite Garnet)”

.

และเมื่อมีการขุดเจอปริมาณพลอยโรโดไลท์กันเยอะ ราคาพลอยโรโดไลท์จึงไม่ค่อยมีราคาแพง

.

‼️ต่างจากพลอยโกเมนเขียว หรือ “พลอยซาโวไรท์ (Tsavorite) ที่กลับเป็นพลอยหายาก ถึงแม้ว่าจะอยู่ในตระกูลพลอย "โกเมน" เดียวกันก็ตาม ซึ่งผมจะมาเล่าให้ฟัง

.

.

📍ซาโวไรท์ (Tsavorite) เป็นพลอยที่ถูกขุดค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 1967 หรือเมื่อ 54 ปีก่อน โดยถูกพบครั้งแรกที่ประเทศแทนซาเนีย ก่อนที่อีก 3 ปีถัดมา จะถูกขุดพบอีกครั้งในประเทศเคนย่า

.

และการขุดพบเจอที่ประเทศเคนย่าในครั้งนี้นี่เอง ที่นักอัญมณีศาสตร์ต่างได้ลงความเห็นที่จะตั้งชื่อทางการค้า “Trade Name” ให้กับพลอยชนิดนี้ร่วมกัน


โดยที่สุดแล้วได้ร่วมตั้งชื่อพลอยโกเมนสีเขียวชนิดนี้ว่า “ซาโวไรท์ (Tsavorite)”

ชื่อพลอยชนิดนี้จึงถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่อุทยานแห่งชาติ ซาโว (Tsavo National Park) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้ขุดพบเจอพลอยชนิดนี้ในเวลานั้น

.

📍จากวันนั้นจนถึงวันนี้… 
พลอยซาโวไรท์ จึงเป็นสายแร่พลอยที่ถูกขุดพบเจอเพียงแค่บริเวณ 2 ประเทศหลักๆที่ว่านี้

.

📍และการขุดพบเจอแต่ละครั้ง ก็ยังพบปริมาณพลอยที่มีคุณภาพดีในปริมาณที่จำกัด ทำให้พลอยซาโวไรท์ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพลอยหายาก

สอดคล้องกับคำบอกเล่าของบรรดานักสะสมพลอยรุ่นเก่าๆที่เคยเล่าว่า

.

⭕️ สมัยก่อนที่เคยพบและได้เคยเก็บสะสมพลอยซาโวไรท์ ต่างก็พบเจอพลอยเข้ามาในตลาดเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แล้วสักพักก็หายไป

.

จนกว่าจะได้มีการจุดเจอพลอยรอบใหม่ จึงจะได้เห็นพลอยซาโวไรท์นี้อีกครั้ง และแต่ละครั้งที่พบเจอพลอย ก็กินช่วงเวลาสักพักเลยทีเดียว

.

ซึ่งก็คงจะแตกต่างจากพลอยกลุ่มแซฟไฟร์ ที่แม้จะหายากมากเช่นกัน แต่ก็ยังพอมีหลงเหลือให้เห็นกันได้บ้าง

.

‼️และในช่วง 10 ปีหลังมานี้ที่ได้ข่าวการขุดเจอพลอยซาโวไรท์ชนิดนี้เพิ่มขึ้นอีกครั้ง

แต่คราวนี้เมื่อคนเริ่มมีความรู้เรื่องราวพลอยชนิดนี้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน และเห็นความสวยของพลอยที่โดดเด่น ความนิยมสะสมจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

.

พลอยซาโวไรท์จึงยิ่งมีท่าทีที่จะหมดไปอย่างรวดเร็วอีกเช่นกัน

.

.

📍คราวนี้ลองมาวิเคราะห์ความเป็นธรรมชาติของพลอยซาโวไรท์ก่อนคิดจะสะสมพลอยชนิดนี้กัน


การขุดเจอพลอยซาโวไรท์(Tsavorite) แต่ละครั้ง ถ้าเป็นพลอยที่มีคุณภาพดี สีสวย เนื้อพลอยสะอาด ก็มักจะเจอแต่

.

"ผลึกพลอยที่มีขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ (ส่วนใหญ่ก็เป็นไซร้ต่ำกว่ากะรัตทั้งนั้น)"

ในสมัยก่อนหน้า เรายังสามารถพบพลอยซาโวไรท์ที่สวยๆได้เพียงแค่ไซร้ 1-3 กะรัต แต่ในปัจจุบันกลับพบได้เพียงแค่ไซร้ 1-2 กะรัตเท่านั้น

.

🟩 ยิ่งไซร้พลอยที่ใหญ่มากขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่ไซร้ 3 กะรัตขึ้นไป ก็ยิ่งหายาก และมีราคาแพง โดยเฉพาะพลอยคุณภาพดี ที่มีเนื้อพลอยใสสะอาด

.

🟩 ซาโวไรท์ เป็นพลอยธรรมชาติที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการเผา หรือการปรับปรุงคุณภาพใดๆเลย เนื่องจากเป็นพลอยที่มีโทนสีสวยอยู่แล้ว และสามารถพบตั้งแต่สีเขียวโทนอ่อน ยันโทนสีเขียวเข้ม

.

🟩 สีพลอยที่หายาก และเป็นที่นิยมกันจะเป็นโทนสีเขียวเข้ม(แต่ไม่ควรสีเข้มจนติดมืดดำ) 

ถ้านึกโทนสีไม่ออก ให้ลองจินตนาการถึงสีของไฟเขียว-ไฟแดงที่อยู่ตามสี่แยก จะพอเห็นภาพกัน

.

🟩 ตำหนิธรรมชาติของพลอยซาโวไรท์ จะมีค่อนข้างเยอะในเนื้อพลอย ซึ่งก็คล้ายๆพลอยทับทิมที่พบเจอตำหนิธรรมชาติมากเช่นเดียวกัน

แต่ด้วยความที่เป็นพลอยที่มีสีสด สีจัดจ้าน และเป็นพลอยสดธรรมชาติอีกด้วย

.

ตำหนิธรรมชาติที่มีบ้าง จึงเป็นข้อยกเว้นสำหรับนักสะสมบางท่านเช่นกัน ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับการสะสมพลอยทับทิมเช่นกัน

.

ยิ่งโดยเฉพาะคนที่เน้นสะสมพลอยซาโวไรท์ไซร้ใหญ่ เพราะถ้าเนื้อพลอยสะอาด ก็อาจทำให้จับราคาไม่ลงเช่นกัน

.

และนี่คือเรื่องราวตำนานพลอยสีเขียวที่คุณอาจจะยังไม่เคยได้ยิน ซึ่งวันนี้ได้นำมาเล่าสู่กันฟัง

.

หวังว่าทุกท่านคงได้รับประโยชน์จากบทความนี้กันครับ



น้ำหนึ่งเจมส์

สมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ จันทบุรี

สมาชิกกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์



 

Comments


bottom of page