🟢 พลอยบุษย์จันท์: ทำไมคนจึงชอบเรียกว่า "เขียวเผา"
อัปเดตเมื่อ 29 ก.ย. 2564

ย้อนรอย Timeline
‼️บุษราคัม จันทบุรี
ทำไมคนจึงชอบเรียกว่า "เขียวเผา"?
🎈ครั้งหนึ่งที่ผมเคยเขียนเรื่อง “พลอยเขียวส่องจันทบุรี” และ “การเผาใหม่ของพลอยทับทิมอุดแก้วตะกั่วไป”
.
มาวันนี้จึงอยากสะท้อนเรื่องราว ตำนานพลอยบุษราคัมจันทบุรี (บุษย์จันท์) เพราะยังมีบางส่วนของเรื่องราวที่เกี่ยวพันกัน
📍พลอยบุษราคัม หรือที่เรารู้จักกันดี ในชื่อทางการค้าว่า “Yellow Sapphire” นั้น
ในประเทศไทย มีการขุดพบที่ อ.บางกะจะ จ.จันทบุรี และที่ จ. กาญจนบุรี มาแต่โบราณ และวันนี้ผมอยากเล่าเจาะลึกเรื่องราวพลอย “บุษย์จันท์” โดยเฉพาะให้ได้ฟังกัน
.
เรื่องราวการทำเหมืองพลอยที่จันทบุรีนั้น ว่ากันว่าถ้าได้ขุดพบพลอยบุษราคัมที่ใด ก็มักจะพบพลอยเขียวส่อง (Green Sapphire) อยู่บริเวณนั้นเช่นเดียวกัน เพราะความที่พลอยทั้งสองชนิดนี้ ล้วนอยู่ในกลุ่มสายแร่ชนิดเดียวกัน

แต่เดิมในอดีต ความนิยมตัวพลอยบุษราคัมนั้นก็มีมากกว่าพลอยเขียวส่องหลายเท่านัก
.
เมื่อความต้องการพลอยบุษราคัมในตลาดมีสูงกว่า และยิ่งต้องพบว่า
.
📍ปริมาณการขุดเจอ “บุษย์จันท์” นั้น มีน้อยมากจนเกือบหมดไป
📍ราคาพลอย “บุษย์จันท์” ในช่วงเวลานั้น ก็สูงมากอย่างน่าใจหาย
🎈 ผมยังจำได้ถึงคำบอกเล่า ที่มาจากคนทำพลอยรุ่นเก่าๆที่มักเคยเล่าให้ฟังว่า
“แค่บุษราคัมจันท์เม็ดเล็กๆ สวยๆ คุณภาพดีๆ ที่มีน้ำหนักเพียง 3-4 กะรัตก็มีราคาขึ้นหลักแสนเสียแล้ว” (หลักแสนในสมัยก่อนก็ช่างต่างจากหลักแสนในปัจจุบันเหลือเกิน)
และสมัยนั้นเอง…
ก็ยังมีซื้อขาย “พลอยบุษราคัม แบบดิบ” หรือเป็นแบบ “พลอยสด” กันอยู่ เพราะชาวบ้านต่างก็ยังไม่รู้จักวิธีการเผาพลอยกัน
.
⭕️ จนยุคต่อมา…
เมื่อเริ่มค้นพบและพัฒนาวิธีการเผาพลอยได้
📍พลอยบุษราคัมจันท์ เผาเก่า หรือเผาแบบโบราณจึงเกิดขึ้น
แต่อย่างไรก็ยังมีออกมาให้พบเห็นในท้องตลาดไม่มากนัก
.
📍สาเหตุเพราะ…
“วัตถุดิบพลอยก้อนสีเหลือง” ที่ไม่ค่อยมี ซึ่งทำให้ราคาพลอยบุษราคัม จันทบุรีในช่วงเวลานั้นสูงต่อเนื่องโดยตลอดเช่นกัน
.
.
⭕️ ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนี่เอง...
ก็เป็นช่วงเวลาที่เริ่มมีพลอยก้อน “บุษราคัมจาก ประเทศศรีลังกา” หรือที่คนไทยมักคุ้นเรียกกันว่า “บุษย์ ซีลอน” ได้ถูกนำเข้ามาเผาที่จันทบุรี (แหล่งรวมภูมิปัญญาการเผาพลอยมาแต่โบราณ)
.
การเผาพลอยด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบเก่า (เผาเก่า) ได้ช่วย…
📍ทำให้การเผาพลอย ”บุษย์ ซีลอน” ที่แต่เดิมเป็นพลอยสีเหลืองโทนอ่อน (โทนสีบุษย์น้ำเพชร)สามารถถูกเผาได้ จนสวยสว่างขึ้นมาเป็นพลอยสีโทน “บุษย์น้ำทอง บุษย์น้ำโขง และ โทนสีหมากสุกได้”
📍และด้วยลักษณะเด่นของ “สีพลอย” บุษย์ ซีลอน ซึ่งเป็นพลอยสีสด สีเปิดโปร่ง...
ทำให้ “พลอยบุษย์ ซีลอน” เข้ามาครอบครองความนิยมในใจคนไทยอย่างรวดเร็ว
🎈 ถ้าใครสะสมพลอยมานาน ยังคงจำกันได้ถึงช่วง 20-30 ปีก่อน ที่ทุกคนมักถามหากันแต่ “บุษย์ ซีลอน”
.
และช่วงเวลานั้น…
ก็จัดเป็นช่วงยุคทองของ “พลอยบุษย์ ซีลอน” ที่ขายได้ราคาดีกันเลยทีเดียว
.
.
⭕️ ต่อมาช่วงราวๆปี 2544 หรือเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ก็เป็นอีกช่วงเวลาสำคัญสำหรับคนในวงการพลอยที่ต้องจดจำ
.
📍เมื่อปรากฎว่า…
มีผู้เผาพลอยที่สามารถค้นพบ “การเผาพลอยรูปแบบใหม่” ได้โดยบังเอิญ
.
และผมขอเรียกกรรมวิธีการเผาพลอยแบบนี้ว่า
‼️ ”การเผา Be” ‼️

ที่อยากเน้นย้ำว่าเป็นเรื่อง "ความบังเอิญ" นั้นเป็นเพราะว่า
.
📍เมื่อผู้เผาพลอยได้เผาอบพลอยเนื้ออ่อนบางชนิดจนเสร็จ ซึ่งนั่นก็รวมถึงกลุ่มพลอยเนื้ออ่อนตระกูลคริสโซเบอริลซึ่งปะปนรวมอยู่ด้วย
.
ต่อมาเมื่อผู้เผาพลอยนำพลอยเนื้ออ่อนชุดนั้นที่เผาเสร็จแล้ว ออกจากเบ้าเผา และแล้ว
ด้วยความบังเอิญ
ก็นำ “พลอยเนื้อแข็ง” ที่มีหลากหลายสี (ซึ่งได้เตรียมไว้แล้ว) เพื่อจะใส่ใน “เบ้าเผาพลอ