top of page
รูปภาพนักเขียนGems Story น้ำหนึ่งเจมส์

🟠 พลอยเม็ดนี้… ดีจริงหรือ?


🔶สปิเนล “สีพัดพารัดชา” 4.66 กะรัต เจียระไนทรง “หยดน้ำ”

🔶 ถิ่นกำเนิด: เหมืองมาเฮงเก(𝗠𝗮𝗵𝗲𝗻𝗴𝗲) ประเทศแทนซาเนีย

🔶 𝗘𝘅𝘁𝗿𝗲𝗺𝗲𝗹𝘆 𝗥𝗮𝗿𝗲

🔶 𝗔𝗜𝗚𝗦 𝗖𝗲𝗿𝘁.

🔶 ไม่ได้เสนอราคา (*ขอเสนอเพื่อการเรียนรู้พลอย)

🔶 เหมาะสำหรับ

  • นักสะสมมืออาชีพ

  • ผู้หลงใหลสีพลอยพัดพารัดชา

  • ผู้สะสมพลอยดิบ พลอยสด

📍สปิเนล เป็นพลอยที่มีความแข็งระดับ 8 เมื่อเทียบกับพลอยกลุ่มแซฟไฟร์ที่มีความแข็งระดับ 9

.

ความแข็งระดับ 8 นี้ก็ไม่ได้จัดว่าอ่อนเท่าใดนัก เมื่อเทียบกับพลอยซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสม เช่นมรกต (7-7.5) หยกเจไดต์ (6.5-7)

สปิเนลในธรรมชาติมีหลากหลายสี โดยสีที่เป็นที่นิยมและหายากส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นสีแดงจัด 
.
แต่สำหรับพลอยสปิเนล สีพัดพารัดชาเม็ดนี้ ผมจัดให้อยู่ในกลุ่มพลอย “𝗨𝗻𝘀𝗲𝗲𝗻 𝗚𝗲𝗺𝘀” เลยทีเดียว 
.
เพราะเมื่อเทียบทั้งเรื่อง “สีพลอย”ที่หายาก “ไซร้พลอย”ที่ใหญ่พอ รวมถึง ”เนื้อพลอย” ที่ใส และการเจียระไนที่ส่อง “ประกาย”ที่วิบวับออกมาได้เต็มที่
ถ้าได้วิเคราะห์ถึงเรื่อง “สีของพลอย 𝗣𝗮𝗱𝗽𝗮𝗿𝗮𝗱𝘀𝗰𝗵𝗮 𝗦𝗮𝗽𝗽𝗵𝗶𝗿𝗲 (แซฟไฟร์สีพัดพารัดชา)” นั้น
โดยนิยามแล้วย่อมหมายถึง โทนที่มีสีชมพู กับ ส้ม(ในสัดส่วนอย่างละครึ่ง หรือ 50:50) และถ้าใครนึกไม่ออก ลองนึกถึงสีของลูกพีช (𝗣𝗲𝗮𝗰𝗵) ดูครับ
.
ในความจริง เรามักพบแต่สีพลอยที่เป็น “สีชมพูแกมส้ม” (โทนชมพูมากกว่า) หรือไม่ก็ “สีส้มแกมชมพู” (โทนสีส้มมากกว่า)

📍หลายคนสงสัยอยากรู้ว่า…

‼️แล้วทำไมเราไม่รอสะสม “แซฟไฟร์สีพัดพารัดชา” ไปเลย รอให้พบสีแบบเดียวกันนี้แล้ว จึงค่อยสะสม

.

📍คำตอบคือ…

ถ้าจะรอสะสมแซฟไฟร์สีพัดพารัดชา ที่มีสีจัดๆแบบนี้ รวมถึงน้ำหนักไซร้ประมาณนี้ มีประกายไฟวิบวับแบบนี้ และยังเป็นพลอยดิบ พลอยสดด้วยแล้ว
.
คงได้รอ… บนเวทีประมูลคริสตี้เป็นแน่ และราคาก็คงมีหลายล้าน หลักสิบล้านได้อยู่
.
เพราะโอกาสที่จะได้เห็น “พัดพารัดชาแซฟไฟร์” ในสีที่จัดจ้าน และยังเป็นพลอยสดธรรมชาติแบบนี้ มันยาก จนแทบจะเป็นไปไม่ได้

และถ้าวิเคราะห์ลงลึกถึงพลอย “พัดพารัดชาสปิเนล” ด้วยกันเอง ในแบบที่มีสีจัดจ้านอย่างเม็ดนี้ ก็แทบจะไม่ค่อยมีให้เห็นในปัจจุบัน

.

จะเห็นได้ก็เฉพาะตอนเปิดหน้าเหมือง ที่เหมืองยังมีความสดใหม่ และมีความสมบูรณ์ของพลอยก้อนในช่วงแรกๆเท่านั้น

.

พลอยเม็ดนี้เองก็เช่นกัน ได้ถูกเก็บสะสมด้วยความชอบส่วนตัวมาร่วม 10 ปีตั้งแต่ยุคตอนต้นๆที่เปิดเหมืองมาเฮงเก(𝗠𝗮𝗵𝗲𝗻𝗴𝗲) ในประเทศแทนซาเนีย

.

และที่สำคัญในครั้งนั้นก็เป็นการซื้อโดยตรงจากพ่อค้าเหมืองในสมัยนั้นโดยไม่ผ่านคนกลาง จึงยังคงมีโอกาสได้สะสมสีสันพลอยแบบนี้

พลอยเม็ดนี้จึงเป็นความภูมิใจสำหรับนักสะสมที่อยากค้นหา “สีพลอยหายาก” และหลงใหลในสีพลอยพัดพารัดชา

หวังว่าคงได้รับประโยชน์จากบทความนี้กันครับ

.

🔹ลงทุนกับความสุขที่เก็บได้นาน



น้ำหนึ่งเจมส์

สมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ จันทบุรี

สมาชิกกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์



 

#น้ำหนึ่งเจมส์ #nngjewelry #พลอยเม็ดนี้ดีจริงหรือnng #p050864



Comments


bottom of page